สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ย่อมจะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในสังคมเดียวกันและคนต่างสังคมได้ หากเราปฏิเสธที่จะเรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรมทั้งของตนเองและของชนชาติอื่น อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเมื่อต้องคบค้าสมาคมกับเพื่อนฝูงคนรอบข้าง และประเทศเพื่อนบ้านได้ ซึ่งที่สำคัญหากเราหลงคิดว่าวัฒนธรรมของตนดีกว่าเด่นกว่าวัฒนธรรมของผู้อื่น ก็จะก่อให้เกิดการยกตนว่าเหนือกว่า อันจะเกิดเป็นอคติต่อประเทศเพื่อนบ้านและจะก่อให้เกิดเป็นข้อขัดแย้ง จนนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ส 2.1 ม.1/3 อภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีหรืออาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกันได้

ด้านทักษะกระบวนการ

วิเคราะห์สถานการณ์การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางวัฒนธรรมไม่นำไปสู่การเข้าใจผิดได้

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. ใฝ่เรียนรู้

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งด้านวัฒนธรรม ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร

2. ความสามารถในการคิด

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

การวัดผลและประเมินผล

8. วิธีการวัด/ประเมินผล

8.1 การตอบคำถาม

8.2 การตรวจผลงาน

9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล

9.1 คำถามนำ

9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 55

9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
ชั่วโมง สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
เรื่อง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางวัฒนธรรมไม่นำไปสู่การเข้าใจผิด 18 มี.ค. 68 (มีบัตรสถานการณ์)