สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 มนุษย์ทุกคนล้วนมีคุณค่าในตนเอง หากเราเริ่มต้นทำสิ่งดีก็จะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมได้ ดังเช่น พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง ที่มีจิตใจที่แน่วแน่ มีส่วนช่วยเผยแผ่พระศาสนา เกื้อกูลให้บุคคลอื่นเข้าใจและนำไปประพฤติปฏิบัติได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

.1 ตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.1/4 วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายคุณค่าของพุทธสาวก พุทธสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่างในพุทธประวัติในเรื่องการเป็นแบบอย่างที่ดีในชีวิตประจำวันได้
ด้านทักษะกระบวนการ

1. วิเคราะห์ความดีของตนเองและผู้อื่นได้

2. วิเคราะห์คุณค่าการเป็นแบบอย่างที่ดีจากการศึกษาเรื่องพุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่างในพุทธประวัติได้
ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

นักเรียนสามารถนำแนวทางการปฏิบัติตนของพุทธสาวกพุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่างในพุทธประวัติมาประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวันได้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการคิด

2. ความสามารถในการสื่อสาร

การวัดผลและประเมินผล

8. วิธีการวัด/ประเมินผล

8.1 การตอบคำถาม

8.2 การตรวจผลงาน

9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล

9.1 คำถามนำ

9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25

9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
ชั่วโมง สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
เรื่อง การเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม (1) 3 ม.ค. 68