สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 กระบวนการทำงานในรัฐสภา จะเป็นการถกเถียงเพื่อหาข้อยุติในกระบวนการทำงานของคณะผู้บริหารบ้านเมือง รวมถึงนโยบาย หรือวิสัยทัศน์ที่ทางสภาเกิดความสงสัยว่าจะมีความโปร่งใส หรือมีความประสบความสำเร็จหรือไม่ เพื่อประโยชน์ต่อคนหมู่มากผ่านผู้แทนที่ประชาชนได้เลือกขึ้นมาทำหน้าที่แทน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ส 2.2 ม.1/2 วิเคราะห์บทบาทการถ่วงดุลของอำนาจอธิปไตยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายกระบวนการทำงานในสภาจำลองได้

ด้านทักษะกระบวนการ

อภิปรายข้อดี และข้อจำกัดของนโยบายหรือวิสัยทัศน์ของผู้แทนในห้องเรียนได้
ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

3. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

4. มีจิตสาธารณะ

คุณลักษณะเฉพาะ

เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้แทนในระบอบประชาธิปไตย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการคิด

2. ความสามารถในการสื่อสาร

3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

4. ความสามารถในการแก้ปัญหา

การวัดผลและประเมินผล

8. วิธีการวัด/ประเมินผล

8.1 การตอบคำถาม

8.2 การตรวจผลงาน

9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล

9.1 คำถามนำ

9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13

9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
ชั่วโมง สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
เรื่อง กระบวนการทำงานในสภาจำลอง 29 พ.ย. 67 (มีใบกิจกรรม)