สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากการที่อากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงเคลื่อนที่ขึ้นสู่ระดับความสูงที่มีอุณหภูมิต่ำลง จนกระทั่งไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำ และเกิดต่อเนื่องเป็นเมฆขนาดใหญ่ พายุฝนฟ้าคะนองทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง ฟ้าแลบฟ้าผ่า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน พายุหมุนเขตร้อนเกิดเหนือมหาสมุทรหรือทะเลที่น้ำมีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงบริเวณนั้นเคลื่อนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นบริเวณกว้าง อากาศจากบริเวณอื่นเคลื่อนเข้ามาแทนที่และพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางของพายุ ยิ่งใกล้ศูนย์กลางอากาศจะเคลื่อนที่พัดเวียนเกือบเป็นวงกลมและมีอัตราเร็วสูงที่สุด พายุหมุนเขตร้อนทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ฝนตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงควรปฏิบัติตนให้ปลอดภัยโดยติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศ และไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
 ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป เกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมตามความเป็นจริง
4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเที่ยงตรง ไม่มีอคติ ไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล
5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอและอธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม ในการสื่อสาร การช่วยเหลือกันในขณะทำกิจกรรม การปฏิบัติตามคำชี้แนะและการตัดสินใจร่วมกัน
3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาใช้แปลความหมายและอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
4. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ในการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

 

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

1. การอภิปรายและการตอบคำถามเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
2. การบันทึกผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในใบงานที่ 1
3. การนำเสนอข้อมูลกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การลงความเห็นจากข้อมูล จากความสามารถในการอธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม ข้อมูล การอภิปราย การตอบคำถามและลงข้อสรุปเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครู

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก     
1. ความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาใช้สนับสนุนการอธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้อย่างสมเหตุสมผล
3. ความซื่อสัตย์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม การนำเสนอข้อมูลหรือผลการทำกิจกรรมตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น
4. วัตถุวิสัย จากการแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมตามผลการทำกิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงและอย่างมีเหตุและผล
5. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
1. การสื่อสาร จากการใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการอธิบายการวางแผนการเฝ้าระวังและป้องกัน อันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลันให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง
2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม การช่วยเหลือเพื่อนในขณะทำกิจกรรม การปฏิบัติตามคำชี้แนะในขณะทำกิจกรรมและใช้การตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ
3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามและจากการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการวาง แผนการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน โดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลที่รวบรวมได้มาสนับสนุนคำอธิบายได้ถูกต้อง
4. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามและจากการนำเสนอข้อมูล ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การอภิปราย และจากการรวบรวมข้อมูลในการอธิบายเกี่ยวกับการวางแผนการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากการ เปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลันได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล
8.2 เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 1 การเฝ้าระวังและการป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน
2. ใบงานที่ 1 การเฝ้าระวังและการป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง ลมฟ้าอากาศ
เรื่อง พายุ (1) 19 มี.ค. 68 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)