สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การพยากรณ์อากาศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคม การเกษตร การป้องกัน และเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

 1. อธิบายสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศอย่างฉับพลันที่เคยเกิดขึ้นในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่สนใจ
 2. บอกข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่ใช้ในการวางแผนการเฝ้าระวังและป้องกันอันตราย จากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน
 3. อธิบายการวางแผนการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน
 ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับการวางแผนกำหนดพื้นที่สำรวจ ช่วงเวลาในการลงพื้นที่สำรวจ การ รวบรวมข้อมูลคำพยากรณ์อากาศย้อนหลังในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์
 ด้านจิตวิทยาศาสตร์
 
ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
 ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
 1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม ในการสื่อสารและการวางแผนการทำกิจกรรม
 2. การคิดขั้นสูง โดยการรวบรวมข้อมูลและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อเลือกข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการวางแผนกำหนดพื้นที่ที่จะลงสำรวจ ช่วงเวลาในการลงพื้นที่สำรวจ
วางแผนการรวบรวมข้อมูลคำพยากรณ์อากาศย้อนหลังในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

การอภิปรายเกี่ยวกับการวางแผนกำหนดพื้นที่สำรวจ ช่วงเวลาในการลงพื้นที่สำรวจ การรวบรวมข้อมูลคำ พยากรณ์อากาศย้อนหลัง
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

การลงความเห็นจากข้อมูล จากความสามารถในการวางแผนกำหนดพื้นที่สำรวจ ช่วงเวลาในการลงพื้นที่สำรวจ การรวบรวมข้อมูลคำ พยากรณ์อากาศย้อนหลังในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก     
ความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสื่อสารและการวางแผนการทำกิจกรรมได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม
2. การคิดขั้นสูง จากการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อเลือกข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างข้อโต้แย้งอย่างสมเหตุสมผล เกี่ยวกับการวางแผนกำหนดพื้นที่ที่จะสำรวจ ช่วงเวลาในการลงพื้นที่สำรวจ การ วางแผนการรวบรวมข้อมูลคำพยากรณ์อากาศย้อนหลังได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสม
8.2 เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 1 การเฝ้าระวังและการป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน
2. ใบงานที่ 1 การเฝ้าระวังและการป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง ลมฟ้าอากาศ
เรื่อง การเฝ้าระวังและการป้องกันอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศอย่างฉับพลัน (1) 13 มี.ค. 68 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)