สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 เมื่อสสารได้รับความร้อนอนุภาคจะเคลื่อนที่เร็วขึ้นและเคลื่อนที่ออกห่างกันมากขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะลดลงจนสสารเปลี่ยนสถานะ ในทางกลับกันเมื่อสสารสูญเสียความร้อนอนุภาคจะเคลื่อนที่ช้าลงและเคลื่อนที่ เข้าใกล้กันมาขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะเพิ่มขึ้นจนสสารเปลี่ยนสถานะ ขณะที่สสารเปลี่ยนสถานะความร้อนทั้งหมดจะถูกใช้ในการเปลี่ยนสถานะโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจำลอง
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การวัด ใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดและอ่านค่าอุณหภูมิพร้อมระบุหน่วย
2. การลงความเห็นจากข้อมูล อธิบายความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารจากผลการทำกิจกรรมและจากกราฟ
3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป แปลความหมายข้อมูลจากกราฟที่ได้จากการทำกิจกรรมว่าขณะที่สสาร เปลี่ยนสถานะอุณหภูมิจะคงที่

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. การใช้วิจารณญาณ รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับความร้อนแฝง เพื่ออธิบายความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน สังเกตผลการทำกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการอธิบายความร้อนกับการ เปลี่ยนสถานะของสาร

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

  การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ อธิบายความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร โดยใช้ผลการทำกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

  การบันทึกและตอบคำถามในใบงานและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารอย่างถูกต้อง
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การวัด จากการบันทึกผลกิจกรรม โดยใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดและอ่านค่าอุณหภูมิพร้อมระบุหน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้อง
2. การลงความเห็นจากข้อมูล จากการบันทึกผลกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงานที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้ข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและกราฟ
3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงานโดยแปลความหมายข้อมูลและกราฟที่ได้จากกิจกรรมว่าขณะที่สสารเปลี่ยนสถานะอุณหภูมิจะคงที่

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงการรวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้หลักฐานสนับสนุนการอธิบายความ สัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก

  การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงานแสดงถึง การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร

8.2 เครื่องมือ

1. ใบความรู้ที่ 1 ความร้อนกับการเปลี่ยนอุณหภูมิและสถานะของสาร
2. ใบความรู้ที่ 2 ความร้อนแฝง

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร
ชั่วโมง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร
เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร (2) 12 ธ.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)