สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ความร้อนถ่ายโอนจากสสารที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังสสารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า การถ่ายโอนความร้อนมี 3 วิธี คือการนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่อนุภาคของตัวกลางไม่เคลื่อนที่แต่สั่นต่อเนื่องกันไป การพาความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนซึ่งอาศัยตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส โดยที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับพาความร้อนไปด้วย การแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางแต่ความร้อน ส่งผ่านโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน
2. ออกแบบ เลือกใช้และสร้างอุปกรณ์ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนความร้อน

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารเมื่อมีการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ
2. การวัด วัดอุณหภูมิโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์อ่านค่าอุณหภูมิพร้อมระบุหน่วย
3. การลงความเห็นจากข้อมูล อธิบายการถ่ายโอนความร้อนของสสารด้วยวิธีต่าง ๆ จากผลการทำกิจกรรมและจากการอ่านใบความรู้เกี่ยวกับแบบจำลองอนุภาคของสสาร

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. การใช้วิจารณญาณ รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองอนุภาคของสสาร เพื่ออธิบายการถ่ายโอนความร้อนของสสาร
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน สังเกตผลการทำกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการอธิบายการถ่ายโอนความร้อนของสสาร

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การสื่อสาร นำเสนอผลการทำกิจกรรมและแนวคิดการออกแบบแก้วเก็บความร้อน โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อน    
2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมและมีบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม
3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์อธิบายการถ่ายโอนความร้อนของสสาร โดยใช้ผลการทำกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

  การบันทึกผล ตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอเกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนของสสารอย่างถูกต้อง
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การสังเกต จากการบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของสสาร เมื่อมีการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน โดยไม่เติมความเห็นของผู้สังเกตลงไป

2. การวัด จากการบันทึกผลการใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดและอ่านค่าอุณหภูมิพร้อมระบุหน่วยได้ถูกต้อง
3. การลงความเห็นจากข้อมูล จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนออธิบายการถ่ายโอนความร้อนของสสารด้วยแบบจำลองอนุภาค

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรมที่แสดงถึงการรวบรวมแนวคิด
เพื่ออธิบายการถ่ายโอนความร้อนของสสาร
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม และการนำเสนอที่แสดงถึงการใช้ข้อมูลผลการทำกิจกรรมสนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนของสสาร

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก

1. การสื่อสาร จากการสังเกตการนำเสนอผลการทำกิจกรรม และแนวคิดการออกแบบแก้วเก็บความร้อน โดย ใช้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อนและเข้าใจได้ง่าย
2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและมีบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม โดยร่วมกันทำงานและตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ
3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการสังเกตการวิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูลเพื่ออธิบายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนของสสาร โดยใช้ผลการทำกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน

8.2 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 4 สร้างแก้วเก็บความร้อนกัน
2. ใบงานที่ 4 สร้างแก้วเก็บความร้อนกัน

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร
ชั่วโมง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร
เรื่อง การถ่ายโอนความร้อน (6) 27 พ.ย. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)