สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สมีการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารแตกต่างกัน ส่งผลให้ปริมาตรและรูปร่างของสสารในแต่ละสถานะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถอธิบายโดยใช้แบบจำลองอนุภาค

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารชนิดเดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยใช้แบบจำลองอนุภาค

2. อธิบายปริมาตรและรูปร่างของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลวและแก๊ส โดยใช้แบบจำลองอนุภาค

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การลงความเห็นจากข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบจาลองอนุภาคมาลงข้อสรุปเกี่ยวกับปริมาตรและรูปร่างของสสารในสถานะต่าง ๆ

2. การสร้างแบบจำลอง โดยใช้แบบจำลองเพื่ออธิบายเกี่ยวกับสสารในแต่ละสถานะ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. การยอมรับความเห็นต่างที่มีประจักษ์พยานและเหตุผลที่แตกต่างจากตนเอง

2. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย

3. มุ่งมั่นในการทางานตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การจัดการตนเองวางแผนในการสร้างแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ กำกับตนเองให้ลงมือทำตามแผน พยายาม อดทน มุ่งมั่น จนสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย

2. การรวมพลังทางานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนในการอภิปรายและสร้างแบบจำลองของอนุภาคสสารในแต่ละสถานะ

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

  การตอบคำถามขณะอภิปรายและในใบงานเพื่ออธิบายเกี่ยวกับแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมิน

1. การลงความเห็นจากข้อมูล โดยการนำข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองอนุภาคมาลงข้อสรุปว่า สสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สมีการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารแตกต่างกัน ส่งผลให้ปริมาตรและรูปร่างของสสารในแต่ละสถานะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถอธิบายโดยใช้แบบจำลองอนุภาค

2. การสร้างแบบจำลอง โดยตรวจสอบการอธิบายเกี่ยวกับสสารในแต่ละสถานะ โดยใช้ แบบจำลอง

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมิน

1. การสังเกตการยอมรับความเห็นที่มีประจักษ์พยานและเหตุผลที่แตกต่างจากตนเอง ในการอภิปรายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ

2. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึง  ความอยากรู้อยากเห็นในระหว่างการสร้างแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ

3. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนโดยประเมิน

1. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการวางแผนในการสร้างแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ ที่สะท้อนการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม การกำกับตนเองให้ลงมือทางานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างมีวินัย และทำงานได้ตามเวลาจนบรรลุเป้าหมายตามบทบาทที่ตนเองได้รับ

2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของนักเรียนและทีมในการร่วมกันอภิปรายและสร้างแบบจำลองของอนุภาคสสารในแต่ละสถานะ โดยมีการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่มและตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ

8.2 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็นอย่างไร

2. ใบงานที่ 1 แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร
ชั่วโมง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร
เรื่อง แบบจำลองอนุภาคสสารในแต่ละสถานะ (3) 7 พ.ย. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)