สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ นิยมใช้เขียนแทนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ หรือมีค่าน้อย ๆ เป็นการเขียนจำนวนในรูปการคูณที่มีเลขยกกำลังซึ่งมีฐานเป็นสิบและมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม  โดยมีรูปทั่วไปเป็น  เมื่อ   และ n เป็นจำนวนเต็ม ซึ่งในกรณีที่เขียนสัญกรณ์วิทยาศาสตร์แทนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ   จะได้ว่า n เป็นจำนวนเต็มบวก และในกรณีที่เขียนสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ แทนจำนวนที่มีค่าน้อย ๆ จะได้ว่า n  เป็นจำนวนเต็มลบ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม.1/2 เข้าใจและใช้สมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถ

หาค่าของจำนวนที่อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

ด้านทักษะและกระบวนการ

นักเรียนสามารถ

1.  แก้ปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังและสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

2.  สื่อสารและสื่อความหมายในการอธิบายแนวคิดในการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังและสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ 

3.  เชื่อมโยงความรู้เรื่องเลขยกกำลังและสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ไปใช้กับสถานการณ์ในชีวิตจริง

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 แบบฝึกหัด 6 : เขียนง่าย ๆ สัญกรณ์วิทยาศาตร์

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 ตรวจแบบฝึกหัด 6 : เขียนง่าย ๆ สัญกรณ์วิทยาศาตร์

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง พลังเหลือล้น กำลังเหลือหลาย
ชั่วโมง พลังเหลือล้น กำลังเหลือหลาย
เรื่อง เขียนง่าย ๆ ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (2) 6 ม.ค. 68 (มีแบบฝึกหัด)