สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การเขียนเล่าเรื่องอาจเป็นการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือเรื่องที่น่าสนใจ การเขียนประเภทนี้ส่วนมากใช้บรรยายโวหารและมีอธิบายโวหารประกอบการเขียนเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงอาจไม่ต้องวางโครงเรื่องอย่างรัดกุมเช่นเดียวกับการเขียนประเภทอื่น อาจกำหนดโครงเรื่องอย่างง่าย ๆ เริ่มต้นจากคำนำ หัวข้อเรื่องหรือลำดับเหตุการณ์จนถึงบทสรุป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 มาตรฐานการเรียนรู้

ท 2.1  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด

ท. 3.1 ม. 1/3 พูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู

ท. 3.1 ม. 1/5 พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นการศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนอธิบายหลักการเขียนเล่าเรื่องได้

ด้านทักษะกระบวนการ

นักเรียนสามารถเขียนเล่าเรื่องได้ถูกต้อง

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

นักเรียนเห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการเขียนสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การวัดผลและประเมินผล

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงานเรื่อง “เหตุการณ์ประทับใจ”

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

3. แบบประเมินการร่วมกิจกรรม

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง รู้เลิศรสครบสำรับ
ชั่วโมง รู้เลิศรสครบสำรับ
เรื่อง ฝึกฝนเขียนเล่าเรื่อง (2) 13 ก.พ. 68 (มีใบงาน และใบความรู้)