สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

พยัญชนะไทย 44 ตัว เรียงลำดับจาก ก-ฮ การฝึกอ่านและเขียนพยัญชนะไทย อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อ่านและเขียนเรียงลำดับพยัญชนะไทยได้ถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

 - บอกวิธีการเขียนพยัญชนะได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- เรียงลำดับพยัญชนะได้ถูกต้อง

- เขียนพยัญชนะไทยและออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้อง

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นประโยชน์ของการเขียนพยัญชนะไทยที่ต้องตามวิธีการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

บอกวิธีการเขียนพยัญชนะ

- ประเมินการตอบ

คำถาม

- คำถาม

ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ 60 ขึ้นไป

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1. เรียงลำดับพยัญชนะได้ถูกต้อง

2. เขียนพยัญชนะไทยและออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้อง

- ประเมินจากการทำกิจกรรมเรียงลำดับพยัญชนะ

- การคัดพยัญชนะทั้ง 22 ตัวลงในสมุด

- แบบประเมินกิจกรรม

- สมุด

ผ่านเกณฑ์

การประเมิน

ร้อยละ 60 ขึ้นไป

คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นประโยชน์ของการเขียนพยัญชนะไทยที่ถูกต้องตามวิธีการเขียน

- สังเกตพฤติกรรมนักเรียน

- แบบสังเกตพฤติกรรม

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. ความสามารถ

ในการคิด (2.1)

2. ความสามารถใน

การใช้ทักษะชีวิต (4.3)

1. การประเมินความสามารถ

ในการคิด

2. การประเมินความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

1. ประเมินความสามารถ

ในการคิด

2. การประเมินความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

- การสังเกตพฤติกรรม

- แบบสังเกตพฤติกรรม

ผ่านเกณฑ์
การประเมิน

ระดับคุณภาพ “ผ่าน”

 

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย รู้จักเพื่อน รู้จักพยัญชนะ
ชั่วโมง รู้จักเพื่อน รู้จักพยัญชนะ
เรื่อง รูปแบบพยัญชนะไทย (๓) 27 พ.ค. 67