1) การบวกหรือการลบจำนวนคละอาจเขียนจำนวนคละในรูปเศษเกินก่อน แล้วจึงหาผลบวกหรือผลลบ
2) การบวกจำนวนคละอาจทำได้โดยแยกจำนวนคละออกเป็นจำนวนนับกับเศษส่วน จากนั้นนำจำนวนนับมาบวกกัน และนำเศษส่วนมาบวกกัน จากนั้นจึงนำผลบวกของจำนวนนับกับเศษส่วนมารวมกัน
3) การลบจำนวนคละอาจทำได้โดยพิจารณาเศษส่วนของจำนวนคละที่เป็นตัวตั้งและตัวลบ ถ้าเศษส่วนของตัวตั้งมากกว่าตัวลบ ให้นำจำนวนนับของตัวตั้งและตัวลบมาลบกัน และนำเศษส่วนของตัวตั้งและตัวลบมาลบกัน จากนั้นนำผลลบทั้งสองมารวมกัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
หาผลบวก หรือผลลบของจำนวนคละกับจำนวนคละ
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1) ให้เหตุผล
2) แก้ปัญหา
3) สื่อสาร และสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
1) ใฝ่เรียนรู้และกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
2) คิดอย่างเป็นระบบ สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเป็นขั้นตอน
วิธีการ
1) ตรวจผลงานจากแบบฝึกหัด 2.7
2) ตรวจผลงานจากใบกิจกรรม 2.6
3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
เครื่องมือ
1) แบบฝึกหัด 2.7
2) ใบกิจกรรม 2.6
3) แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
4) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
5) แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน
6) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์