แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสมีผลทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ แรงแม่เหล็กเป็นแรงไม่สัมผัส เมื่อแม่เหล็ก 2 แท่งเข้าใกล้กัน แรงระหว่างแม่เหล็กจะทำให้เกิดการดึงดูดหรือผลัก มีผลทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ เราสามารถนำผลที่เกิดจากแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด
ว2.2 ป.3/2 เปรียบเทียบและยกตัวอย่างแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ว2.2 ป.3/4 ระบุขั้วแม่เหล็กและพยากรณ์ผลที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็กเมื่อนำมาเข้าใกล้กันจากหลักฐานเชิงประจักษ์
จุดประสงค์
1. อธิบายวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับแรงสัมผัส แรงไม่สัมผัส
2. สังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงมากระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ
1. ประเมินความรู้เรื่องวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับแรงสัมผัส แรงไม่สัมผัส โดยการสังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน
2. ประเมินการสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงมากระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์