สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การใช้นาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ประกอบเพลง  เป็นการสื่อความหมายแทนคำพูดที่สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง ควรฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อสื่อความหมายได้ชัดเจน  และสามารถใช้ความรู้ ทักษะสร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำ ทำให้เกิดท่ารำที่อ่อนช้อยสวยงาม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด                                                                                                                

- ศ 3.1 ป. 4/2 ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ หรือศัพท์ทางการละครง่าย ๆ ในการถ่ายทอดเรื่องราว

- ศ 3.1 ป. 4/3 แสดงการเคลื่อนไหวในจังหวะต่าง ๆ ตามความคิดของตน

- ศ 3.1 ป. 4/4 แสดงนาฏศิลป์เป็นคู่ และหมู่

จุดประสงค์                                                                                        

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- นักเรียนสามารถระบุนาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้ประกอบเพลงได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- นักเรียนฝึกปฏิบัติเพลง เขมรกำปอ

 3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าทางดนตรีและนาฏศิลป์ 

การวัดผลและประเมินผล

- ประเมินจากการปฏิบัติกิจกรรม

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ ศิลปะ
หน่วย หน่วยที่ 4 ชื่อหน่วย พื้นฐานนาฏศิลป์
ชั่วโมง พื้นฐานนาฏศิลป์
เรื่อง การใช้นาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ประกอบเพลง (๒) 30 ก.ย. 67