ภาษาท่าหรือภาษานาฏศิลป์ เป็นการนำท่าทางต่าง ๆ และสีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นำมาประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีความอ่อนช้อยและสวยงามเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลง การขับร้อง และสถานการณ์ ซึ่งการฝึกหัดภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อสื่อ ให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ผู้แสดงต้องการสื่อความหมายมากขึ้น
1 ตัวชี้วัด
- ศ 3.1 ป. ๒/3 แสดงท่าทาง เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด
- ศ 3.1 ป. ๒/4 แสดงท่าทางประกอบจังหวะอย่างสร้างสรรค์
2 จุดประสงค์
1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- ระบุภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ปฏิบัติได้
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- สามารถปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์ได้
3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- ตระหนักและเห็นคุณค่าการนำภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไปใช้ประโยชน์
ประเมินจากการปฏิบัติกิจกรรม