สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การตรวจสอบอำนาจรัฐมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่ของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีวิธี ดังนี้ 1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด

ส 2.2 ม.๓/3    วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้  

  1. นักเรียนอธิบายการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. นักเรียนวิเคราะห์หน้าที่ขององค์กรอิสระที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. ใฝ่เรียนรู้
  2. มีวินัย
  3. มุ่งมั่นในการทำงาน

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่ส่งผลต่อประชาชนทั่วไปผ่านการตอบคำถาม  และอภิปรายร่วมกันได้อย่างน้อย ๓ ข้อ

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

 เครื่องมือวัด

- ใบงานที่ 28 เรื่อง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
ชั่วโมง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
เรื่อง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 30 ส.ค. 67 (มีใบงาน)