สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีวิธีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1) การยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย 2) การมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิเสรีภาพในการแสดง 3) การยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน สังคมประชาธิปไตยจะมีความเชื่อมั่นและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น 4) การเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ 5) การยึดในหลักเหตุผล โดยเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคม การแก้ปัญหาในสังคมประชาธิปไตยจะเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่น และ 6) การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ส 2.2 ม.๓/1    มีอธิบายระบอบการปกครองแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในยุคปัจจุบัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้  

  1. นักเรียนยกตัวอย่างประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย  นอกจากประเทศไทยได้

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. นักเรียนวิเคราะห์ความแตกต่างทางการปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. ใฝ่เรียนรู้
  2. มีวินัย
  3. มุ่งมั่นในการทำงาน

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นคุณค่าของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อประเทศต่างๆ  ผ่านการตอบคำถาม  อภิปรายร่วมกันและให้เหตุผลได้อย่างน้อย ๓ ข้อ

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

 เครื่องมือวัด

- ใบงานที่ 27 เรื่อง ความแตกต่างทางการปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
ชั่วโมง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
เรื่อง ความแตกต่างทางการปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย 23 ส.ค. 67 (มีใบงาน)