สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การกระทำผิดทางอาญา : หลักเกณฑ์สำคัญของความผิดทางกฎหมายอาญา คือ มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นความผิดทางอาญา และไม่มีโทษถ้ากฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ให้ต้องรับโทษซึ่งไม่มีผลย้อนหลัง การกระทำความผิดทางอาญา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การกระทำผิดโดยเจตนา , การกระทำผิดโดยไม่เจตนา และการกระทำผิดโดยประมาท

การกระทำผิดทางแพ่ง : การกระทำความผิดทางแพ่งซึ่งถูกบุคคลอื่นมาละเมิดสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาหรือครอบครองอย่างถูกต้องตามกฏหมาย   ทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้มาโดยกฎหมายและได้มาโดยนิติกรรมและสัญญา ดังนั้น กฎหมายแพ่งจึงเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่บุคคลต้องชำระหนี้หรือความเสียหายทางด้านทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทำของตนกับบุคคลอื่นที่มีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 2.1 ม.๓/1    อธิบายความแตกต่างของ การกระทำความผิดระหว่าง คดีอาญา และคดีแพ่ง

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้

  1. นักเรียนอธิบายการกระทำความผิดทางอาญาและทางแพ่งได้

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. นักเรียนวิเคราะห์ความแตกต่างของการกระทำความผิดทางอาญาและทางแพ่งได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. ใฝ่เรียนรู้
  2. มีวินัย
  3. มุ่งมั่นในการทำงาน

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมาย  ไม่กระทำความผิดทางอาญาและทางแพ่ง  ผ่านการตอบคำถามและอภิปรายพร้อมทั้งยกตัวอย่างได้อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

- ใบงานที่ 26 เรื่อง การกระทำความผิดทางอาญาและทางแพ่ง

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
ชั่วโมง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
เรื่อง การกระทำความผิดทางอาญาและทางแพ่ง 9 ส.ค. 67 (มีใบงาน)