สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แสงที่ตกกระทบบนพื้นผิวแบบตรงตั้งฉากจะมีพลังงานต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่มากกว่าบริเวณที่แสงตกกระทบพื้นผิวแบบเฉียง สังเกตได้จากความสว่างบริเวณที่แสงตกตรงจะมากกว่าบริเวณที่แสงตกเฉียง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

       1. การสังเกต เกี่ยวกับลักษณะที่แสงตกกระทบบนแผ่นกระดาษและบนลูกโลก

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  1. การสร้างแบบจำลอง เกี่ยวกับการอธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยแบบจำลอง
    เพื่ออธิบายการเกิดฤดูของโลก
  2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยทำความเข้าใจข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิดฤดูของโลก

 

การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผล

         วิธีการ

          1. การสังเกต เกี่ยวกับลักษณะที่แสงตกกระทบบนแผ่นกระดาษและบนลูกโลก

          2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยทำความเข้าใจข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิดฤดูของโลก

          3. กำหนดและควบคุมตัวแปร โดยสามารถกำหนดตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสมมติฐานการทดลอง

เครื่องมือ

        1. ใบกิจกรรมที่ 1 ฤดูของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร

        2. ใบงานที่ 1 ฤดูของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โลก ดวงดาว และอวกาศ
ชั่วโมง โลก ดวงดาว และอวกาศ
เรื่อง ฤดูของโลก (2) 3 ก.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)