สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

          แสงที่ตกกระทบพื้นที่หนึ่ง ๆ ทำให้พื้นที่นั้นมีความสว่าง โดยความสว่างมีหน่วยเป็น ลักซ์ เครื่องมือวัดความสว่างเรียกว่า ลักซ์มิเตอร์ การมองวัตถุหรือพื้นที่ที่มีความสว่างน้อยเกินไปหรือมากเกินไป หรือการจ้องมองไปที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรงจะมีผลเสียต่อตา อาจทำให้เรตินาได้รับความเสียหายหรืออาจทำให้ตาบอดได้ จึงจำเป็นต้องจัดความสว่างสำหรับการทำกิจกรรมหรือสถานที่ต่าง ๆ ให้เหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายผลของความสว่างที่มีต่อตาจากข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น

- อธิบายการจัดความสว่างให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การวัด วัดความสว่างของแสงบนพื้นที่โดยใช้ลักซ์มิเตอร์และระบุหน่วยวัด

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการวัดความสว่าง และความสว่างที่เหมาะสมต่อดวงตาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

          ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การสื่อสาร สื่อสารผลการศึกษาเกี่ยวกับความสว่างที่มีผลต่อดวงตา ความไม่เหมาะสมขอความสว่างในสถานที่ต่าง ๆ และแนวทางการจัดความสว่างที่เหมาะสม ให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นความสำคัญ

           - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการวัดและการจัดความสว่างให้เหมาะสมต่อดวงตา ในสถานที่ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับผลของความสว่างที่มีต่อดวงตาอย่างถูกต้อง

2. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการจัดความสว่างให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3. การทำแบบฝึกหัดเรื่องความสว่างได้อย่างถูกต้อง

4. การวัด จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือวัดความสว่างของแสง บันทึกค่าและหน่วยของการวัดได้ถูกต้องและรวดเร็ว

5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการวัดและการจัดความสว่างให้เหมาะสมต่อดวงตา สอดคล้องกับข้อมูลและหลักฐาน

6. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้น สืบเสาะหาคำตอบระหว่างการทำกิจกรรม

7. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม และความสำเร็จของการทำงาน

8. การสื่อสาร จากใบการทำใบงาน สื่อสารผลของความสว่างที่มีต่อดวงตา ความไม่เหมาะสมของความสว่างในสถานที่ต่าง ๆ และแนวทางการจัดการความสว่างให้เหมาะสม ให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นความสำคัญ โดยเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม

9. การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการการบันทึกผลและตอบคำถามในใบงานวิเคราะห์และแปล ความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการวัดความสว่าง และความสว่างที่เหมาะสมต่อดวงตาในสถานที่และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐาน

เครื่องมือ

          1. ใบงานที่ 2 ความสว่างที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมควรมีค่าอย่างไร

          2. ใบงานที่ 3 การสื่อสารเกี่ยวกับความสว่าง

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง ความสว่าง (2) 16 ส.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)