สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คำเอก คำโท เป็นตำแหน่งคำบังคับในฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ ซึ่งคำเอก คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เช่น ท่า คู่ ปี่ ค่ำ คำโท คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ เช่น น้อง น้ำ ซ้ำ ไซร้ ให้ ข้า สู้ ในโคลงสี่สุภาพบังคับให้มีคำเอก ๗ แห่ง คำโท ๔ แห่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี คำเอกโทษ โทโทษ หมายถึง คำที่ตามฉันทลักษณ์กำหนดให้เป็นคำเอกหรือคำโท แต่ผู้เขียนไม่สามารถหาคำที่ใช้รูปวรรณยุกต์เอกหรือโทตามกำหนดได้ จึงเปลี่ยนมาใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกหรือโทซึ่งมีเสียงเดียวกัน เช่น คำว่า ค่า เมื่อใช้แทน ข้า เรียกว่า คำเอกโทษ ถ้าใช้ ข้า แทน ค่า เรียกว่า คำโทโทษ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้                                                                                                     

อธิบายความหมายของโคลงสี่สุภาพได้

ด้านทักษะกระบวนการ                                                                                             

แต่งโคลงสี่สุภาพได้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ประเมินใบงาน

เครื่องมือ

ใบงานโคลงสี่สุภาพ

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง นิรมิตผ่านปัญญา
ชั่วโมง นิรมิตผ่านปัญญา
เรื่อง รังสรรค์คำประพันธ์ (2) 7 ต.ค. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)