สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แรงพยุงของของเหลวเป็นผลของแรงลัพธ์จากแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ มีทิศขึ้นในแนวดิ่ง โดยขนาดของแรงพยุงของของเหลวขึ้นกับปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมในของเหลว   

          เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์ วัตถุจะลองนิ่งในของเหลว เนื่องจากแรงพยุงของของเหลวมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ  

          เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุไม่เท่ากับศูนย์และมีทิศลง วัตถุจะจมในของเหลว เนื่องจากน้ำหนักของวัตถุมีขนาดมากกว่าแรงพยุง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ว 2.2 ม.2/4 – 2/5

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

๑. วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยที่มีผต่อขนาดของแรงพยุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๒.วิเคราะห์แรงพยุงและการจม การลอยของวัตถุในของเหลว

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. การสังเกต โดยสังเกตการจม การลอยของวัตถุในของเหลว

๒. การวัด วัดขนาดของแรงพยุง และการน้ำหนักของวัตถุ

๓. การใช้จำนวน การคำนวณหาขนาดของแรงพยุง

๔. การแปลความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป โดยตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรงพยุง และการจมการลอย

๕. การพยากรณ์ ใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากแรงพยุงและน้ำหนักของวัตถุพยากรณ์การจม การลอยของวัตถุ 

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

๑. อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการพยากรณ์และสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

๒. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

๓. วัตถุวิสัย แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

 

 

 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

๑. ความคิดขั้นสูง โดยวิเคราะห์ แยกแยะ และทบทวนข้อมูลที่หลากหลายเพื่อการอธิบายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับแรงพยุง และการจม การลอยของวัตถุ

๒. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยี่มีผลต่อแรงพยุงของของเหลว และผลของแรงพยุงที่มีต่อการจม การลอยของวัตถุ

๓. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินการทดลองเพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงของของเหลว

๔. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเพื่ออธิบายปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรงพยุง และการจม การลอย

ด้านความรู้

ประเมิน

๑. การนำเสนอผลงาน และแสดงความเห็นระหว่างเรียนมีความถูกต้อง

๒ การบันทึกและตอบคำถามในใบงาน เขียนแผนภาพและอธิบายแรงพยุงของของเหลว รวมถึงการจมการลอยของวัตถุได้อย่างถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมิน

๑. การสังเกต จากการบันทึกผล น้ำหนัก แรงพยุง และการจม-ลอยของวัตถุอย่างละเอียด โดยไม่เติมความเห็นของผู้สังเกตลงไป

๒. การวัด จากการบันทึกผล การชั่งน้ำหนักดินน้ำมัน ในอากาศ กับในของเหลวความหนาแน่นต่าง ๆ  ด้วยตาชั่งสปริงได้ถูกต้อง อ่านและบันทึกค่าที่วัดได้อย่างเหมาะสม

๓. การใช้จำนวน จากการบันทึกและตอบคำถามในใบงาน  คำนวณ หาแรงพยุง ความหนาแน่นของของเหลว ให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

๔. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลและตอบคำถามในใบงานแปลความหมายและสร้างข้อสรุปอธิบายความสัมพันธ์แรงพยุงกับความหนาแน่นของของเหลว และการจมการลอยของวัตถุที่สอดคล้องกับข้อมูลและหลักฐาน

๕. การพยากรณ์ จากการบันทึกในใบงาน ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงพยุงสนับสนุนการพยากรณ์การจมการลอยของวัตถุได้อย่างเหมาะสม

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมิน

๑. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม ๒. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

๓. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมิน

๑. ความคิดขั้นสูง จากการวิเคราะห์ แยกแยะ และทบทวนข้อมูลที่หลากหลายเพื่อการอธิบายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุง และการจมการลอย

๒. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุง และการจมการลอย

๓. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จากการประเมินองค์ประกอบและผลการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงของของเหลว

             ๔. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลผลการทำกิจกรรมเพื่ออธิบายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับแรงพยุง และการจมการลอย

การวัดผลและประเมินผล

- ใบกิจกรรมที่ 2 แรงพยุงของของเหลวขึ้นกับอะไร

- ใบงานที่ 2 แรงพยุงของของเหลวขึ้นกับอะไร

- ใบกิจกรรมที่ 3 วัตถุจมหรือลอยในของเหลวได้อย่างไร

- ใบงานที่ 3 วัตถุจมหรือลอยในของเหลวได้อย่างไร

- ใบความรู้ที่ 1 แรงพยุงกับการจมการลอย

- ใบงานที่ 4 แรงพยุงของของเหลวกับการจม-การลอย

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แรงรอบตัว
ชั่วโมง แรงรอบตัว
เรื่อง แรงพยุงกับการจมการลอย (2) 30 ก.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)