สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น จะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างทันทีทันใดโดยไม่ทันได้คิดเรียกว่า ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (reflect action) เช่น การกระตุกขาเมื่อถูกเคาะที่บริเวณใต้หัวเข่า แพทย์จะใช้ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ในการตรวจการทำงาน

ของระบบประสาท ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ควบคุมโดยไขสันหลัง เมื่อใช้ค้อนยางเคาะบริเวณใต้หัวเข่า หน่วยรับความรู้สึกที่อยู่บริเวณกล้ามเนื้อ จะส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกไปยังไขสันหลัง เซลล์ประสาทสั่งการจะนำ

คำสั่งจากไขสันหลังใน รูปของกระแสประสาทไปกระตุ้นให้หน่วยปฏิบัติการ เช่น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าหดตัว ขณะเดียวกันเซลล์ประสาท รับความรู้สึกจะส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงานไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ

เพื่อยับยั้งการหดตัวของ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังซึ่งจะทำให้ กล้ามเนื้อส่วนนี้ คลายตัวเป็นผลให้ เกิ ดการกระตุ กขาไปข้างหน้า ดังภาพที่ 1 ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองแบบทันทีทันใดโดยไม่ผ่านสมอง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด

ว 1.2 ม.2/11

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

2. บรรยายการทำงานร่วมกันของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงการแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การลงความเห็นข้อมูล นำข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบประสาทและปฏิกิริยารีเฟล็กซ์มาอธิบายการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและการตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. การยอมรับฟังความเห็นต่าง รับฟังความคิดเห็นในการออกแบบแผนภาพหรือไดอะแกรมเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่แตกต่างกัน

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการออกแบบแผนภาพหรือไดอะแกรม รวมทั้งการนำเสนอแผนภาพหรือไดอะแกรมเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์

2. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ นำข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบประสาท และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์มาอธิบายการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและการตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

1. การออกแบบ การนำเสนอ การอภิปรายแผนภาพและไดอะแกรม และการตอบคำถาม เพื่อบรรยายการทำงานร่วมกันของสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การออกแบบ การนำเสนอแผนภาพหรือไดอะแกรม การตอบคำถาม และการอภิปรายโดยใช้ข้อมูล เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบประสาทและปฏิกิริยารีเฟล็กซ์มาอธิบายการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและการตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นอย่างสมเหตุสมผล

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การสังเกตพฤติกรรมในการรับฟังความคิดเห็นในการออกแบบแผนภาพหรือไดอะแกรมเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่แตกต่างกัน รวมถึงการบันทึกการปรับปรุงแผนภาพหรือไดอะแกรมที่ได้ออกแบบไว้

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การสื่อสาร โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการออกแบบแผนภาพหรือไดอะแกรม รวมทั้งการนำเสนอแผนภาพหรือไดอะแกรม เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย

2. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยออกแบบนำเสนอแผนภาพหรือไดอะแกรม ตอบคำถาม และอภิปรายโดยใช้ความรู้ที่เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบประสาทและปฏิกิริยารีเฟล็กซ์มาอธิบายการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและการตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นได้อย่างถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

เครื่องมือ

- ใบความรู้ที่ 1 ระบบประสาท

- ใบความรู้ที่ 2 เซลล์ประสาท

- ใบกิจกรรมที่ 1 นักเรียนตอบสนองได้ดีแค่ไหน

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ร่างกายมนุษย์
ชั่วโมง ร่างกายมนุษย์
เรื่อง โครงสร้างของระบบประสาทและการตอบสนอง (3) 29 ส.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)