ชีพจรบอกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจสามารถวัดได้จากการจับชีพจรในหนึ่งหน่วยเวลาอัตราการเต้นของหัวใจในขณะปกติหรือขณะพักและหลังจากทำกิจกรรม
ต่าง ๆ จะแตกต่างกันเพราะการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องใช้พลังงาน หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์เพื่อสลายสารอาหารให้ได้พลังงานมาใช้ขณะเดียวกันหัวใจจะต้อง
นำเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการสลายสารอาหารจากเซลล์ไปกำจัดออก จึงเป็นผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ส่วนความดันเลือด คือ แรงที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด
เมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัว
ตัวชี้วัด
ว 2.3 ม.2/8
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. เปรียบเทียบและอธิบายอัตราการเต้นของหัวใจขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. สังเกตชีพจรในขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
2. ออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลองเพื่อศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจในขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป นำข้อมูลจากการทดลองมาอธิบายความแตกต่างระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจ ในขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความซื่อสัตย์ บันทึกผลการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การสื่อสาร นำเสนอผลการศึกษาการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม ร่วมกันออกแบบและแบ่งหน้าที่ในการทำกิจกรรมเพื่อศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักและหลังการทำกิจกรรม
ด้านความรู้ โดยประเมินจาก
1. การบันทึกผลการทดลอง การตอบคำถาม การนำเสนอ และการอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบ และอธิบายอัตราการเต้นของหัวใจขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การบันทึกผลการสังเกตชีพจรในขณะปกติและหลังทำกิจกรรมตามความเป็นจริง
2. การบันทึกผลการออกแบบและผลการทดลองเพื่อศึกษาอัตราการเต้นของหัวใจในขณะปกติและหลังทำกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
3. การตอบคำถาม การนำเสนอ และการอภิปราย โดยใช้ข้อมูลจากการทดลองมาอธิบายความแตกต่างระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจในขณะปกติ และหลังทำกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง
ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การบันทึกผลการการวัดอัตราการเต้นของหัวใจตามจริง
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
1. การสื่อสาร โดยนำเสนอผลการศึกษาการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจด้วยคำ ข้อความ และท่าทางที่ชัดเจนและตรงประเด็นให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายและถูกต้อง
2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยสังเกตพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการทดลอง การแบ่งหน้าที่ในการทดลอง การบันทึกผล การทดลอง และการนำเสนอเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักและหลังการทำกิจกรรม
เครื่องมือ
- ใบงานที่ 1 กิจกรรมใดมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
- ใบความรู้ที่ 1 อัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือด