ชีพจรบอกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจสามารถวัดได้จากการจับชีพจรในหนึ่งหน่วยเวลาอัตราการเต้นของหัวใจในขณะปกติหรือขณะพักและหลังจากทำกิจกรรม
ต่าง ๆ จะแตกต่างกันเพราะการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องใช้พลังงาน หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์เพื่อสลายสารอาหารให้ได้พลังงานมาใช้ขณะเดียวกันหัวใจจะต้อง
นำเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการสลายสารอาหารจากเซลล์ไปกำจัดออก จึงเป็นผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ส่วนความดันเลือด คือ แรงที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด
เมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัว
ตัวชี้วัด
ว 2.3 ม.2/8
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. อธิบายความหมายของชีพจรและความดันเลือด
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การตั้งสมมติฐาน ตั้งสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจของคนในขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
2. การกำหนดและควบคุมตัวแปร กำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเต้นหัวใจของคนในขณะปกติและหลังทำกิจกรรม
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความซื่อสัตย์ บันทึกผลการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ออกแบบวิธีการทดลองเพื่อศึกษาผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
ด้านความรู้ โดยประเมินจาก
1. การตอบคำถามและการอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของชีพจรและความดันเลือด
ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การบันทึกผลการการวัดอัตราการเต้นของหัวใจตามจริง
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก
1. การบันทึกผลการตั้งสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจของคนในขณะพัก และหลังทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม
2. การบันทึกผลการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเต้นหัวใจของคนในขณะปกติและหลังทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
1. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยบันทึกการตั้งคำถาม สมมติฐาน ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม และผลการออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
เครื่องมือ
- ใบงานที่ 1 กิจกรรมใดมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
- ใบความรู้ที่ 1 อัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือด