สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดินถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์และส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปรากร การใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มีการนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้มากขึ้นจึงต้องมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ม.2/9

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสียจากแบบจำลอง

2. ยกตัวอย่างแนวทางการลดปัญหาการปนเปื้อนน้ำเสียของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำเสียไปยังบริเวณต่าง ๆ ภายในกล่องพลาสติกใส

2. การพยากรณ์ เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำเสียไปยังบริเวณต่าง ๆ ภายในกล่องพลาสติกใส 

3. การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับผลกระทบจากการทิ้งน้ำเสียจากแบบจำลองที่สร้างขึ้น 

4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจําลอง เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย และยกตัวอย่างแนวทางการลดปัญหาการปนเปื้อนน้ำเสียของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน

5. การสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1.ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทํางานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย

3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐานหรือข้อมูลต่างๆ จากการทำกิจกรรมให้มากที่สุด และเขียนหรือบอกข้อมูลที่ปรากฏตามความเป็นจริง 

4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้ สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเท่ียงตรง ไม่มีอคติ ไม่นําความเชื่อส่วนตัว หรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล 

5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการทำกิจกรรม เพื่อนําไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย และการยกตัวอย่างแนวทางการลดปัญหาการปนเปื้อนน้ำเสียของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีภาวะผูนํา เสริมสรางความสัมพันธเชิงบวกและคุณคาของการรวมพลังทํางานเปนทีม มีความสามารถในการประสานความ คิดเห็นที่แตกตางและทํางานดวยความโปรงใส ตรวจสอบได และ สามารถจัดการความขัดแยงได

2. การคิดขั้นสูง โดยการรวบรวมข้อมูลและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่หลากหลายเพื่อเลือกข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการปนเปื้อนของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน และแนวทางการลดปัญหาการปนเปื้อนน้ำเสียของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน

3. อธิบายปรากฏากรณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการสร้างแบบจำลอง และจากการสืบค้นข้อมูลมาใช้แปลความ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ด้านความรู้

          ประเมินจาก

1. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับการไหล ซึมของน้ำเสียไปสะสมตัวบริเวณต่างๆ ภายในกล่องพลาสติก แนวทางการลดปัญหาการปนเปื้อนน้ำเสียของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน และการเชื่อมโยงความรู้จากการทำกิจกรรมไปสู่เหตุการณ์ในธรรมชาติ

2. การนำเสนอผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสียจากแบบจำลองและการหยดตัวอย่างแนวทางการลดปัญหาการปนเปื้อนน้ำเสียของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน 

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  

ประเมิณจาก

1. การสังเกต จากการใช้ประสาทสัมผัสเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำเสียไปสะสมตัวบริเวณต่าง ๆ ภายในกล่องพลาสติกและการสังเกตน้ำสีที่มีการดูดมาจากชั้นหินอุ้มน้ำจำลองโดยไม่เพิ่มความคิดเห็น

2. การพยากรณ์ จากการคาดการณ์การไหลซึมของน้ำสี เมื่อเทน้ำสีลงในกล่องพลาสติกใส และการคาดการณ์เกี่ยวกับสีของน้ำที่ดูดขึ้นมาจากแบบจำลอง โดยอาศัยข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างสมเหตุสมผลและครบถ้วน

3. การลงความเห็นจากข้อมูล จากการลงความเห็นได้ว่า เมื่อ ปล่อยน้ำที่ผสมสีลงที่ผิวด้านบนสุดของตะกอน น้ำสีจะไหลซึมผ่านตะกอนลงสู่ด้านล่างและไหลซึมผ่านไปที่แม่น้ำจำลอง ทำให้น้ำทั้งหมดที่อยู่ในกล่องพลาสติกใสทั้งน้ำที่อยู่ระหว่างเม็ดตะกอนและน้ำในแม่น้ำจำลองปนเปื้อนน้ำสีที่ ปล่อยลงมา และเมื่อดูดน้ำที่บริเวณใดก็ตามของกล่องพลาสติกใส น้ำที่ดูดขึ้นมาก็จะปนเปื้อนน้ำสีที่ปล่อยลงไปที่กล่องพลาสติกใส

4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการวิเคราะห์และทำความเข้าใจความหมายของข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจำลอง

          

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

โดยประเมินจาก

1. ความรอบคอบ จากพฤติกรรมที่แสดงความ รอบคอบและความละเอียดถ่ีถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำ กิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือก่อนทำกิจกรรม การทํางานอย่าง  เป็นระเบียบเรียบร้อย

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากพฤติกรรมที่มีการนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยว กับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย

3. ความซื่อสัตย์ จากการนำเสนอข้อมูลหรือผลการทำกิจกรรมตามผลที่ได้จริงหรือที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น

4. วัตถุวิสัย จากการแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทํากิจกรรมตามผลการทํากิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงอย่างมีเหตุผล 

5. ความมุ่งมั่นอดทน จากพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำ กิจกรรม ให้เสร็จตามกําหนด อดทนต่อปัญหา การสร้างแบบจำลอง จากการใช้แบบจำลองอธิบายสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย

ด้านสมรรถนะ

          โดยประเมินจาก

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการให้ข้อเสนอแนะและการโต้แย้งโดยใช้เหตุผล การแสดงถึงความพยายามมีส่วนร่วมในทีมและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก พยายามป้องกันหรือกำจัดข้อขัดแย้งภายในทีม

2. การคิดขั้นสูง จากพฤติกรรมในการรวบรวมข้อมูลและประเมินความน่า

เชื่อถือของข้อมูลที่หลากหลายเพื่อเลือกข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างข้อโต้แย้งอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับการปนเปื้อนของแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินได้อย่างถูกต้อง และตรงประเด็น

3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสียจากแบบจำลอง

4. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุป อย่างสมเหตุสมผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสร้างแบบจำลองในการอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดินปนเปื้อนน้ำเสีย

เครื่องมือ

- ใบงานที่ 1 การทิ้งน้ำเสียลงสู่ผิวดินส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ อย่างไร

- ใบงานที่ 2 ห้ามใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินในพื้นที่เสี่ยงต่อสารพิษจริงหรือไม่

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง ผลกระทบจากการทิ้งน้ำเสีย (2) 18 ก.ค. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)