การกลั่นอย่างง่ายใช้แยกสารละลายที่ตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลวมีจุดเดือดต่างกันมาก
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/1 ว 2.1 ม.2/2 ว.2/1 ม.2/3
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อแยกองค์ประกอบของสารละลายด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
2. ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดปริมาณที่เกี่ยวข้อง
3. ใช้ข้อมูลจากการสำรวจมาอธิบายการแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
4. นำเสนอข้อมูลที่ได้จากแยกองค์ประกอบของสารละลายโดยการกลั่นอย่างง่าย ในรูปแบบที่เหมาะสมเข้าใจง่าย
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. กระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
2. บันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา
3. มุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป
4. แปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูล
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การจัดการตนเอง ระบุเป้าหมายการทำงาน ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่มทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลาได้อย่างเหมาะสมให้สามารถปฏิบัติกิจกรรม
ได้ภายในเวลาที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม
2. การสื่อสาร นำเสนอผลการทำกิจกรรม อภิปรายผล และสรุปผลการทำกิจกรรมที่ครอบคลุม สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรม ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจและภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการ อธิบายได้อย่างถูกต้อง
3. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการ วางแผนและทำงานเป็นทีม รวมทั้งประเมินและปรับปรุงกระบวนการทำงาน
4. การคิดขั้นสูง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสรุปผลการทำกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
5. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายการแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
6. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
1 วิธีการ
ด้านความรู้
1. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับการแยกสารละลายด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โดยประเมินจาก
1. การสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อแยกองค์ประกอบของสารละลายด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
2. การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดปริมาณที่เกี่ยวข้อง
3. การอธิบายการแยกสารด้วยวิธีกลั่นอย่างง่าย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจ
4. การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากแยกองค์ประกอบ ของสารละลายโดยการกลั่นอย่างง่าย ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
โดยประมินจาก
1. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น จากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอดกิจกรรม
2. ความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมได้
3. ความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป
4. การตอบคำถามในใบงาน แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูล
ด้านสมรรถนะ
โดยประเมินจาก
1. การจัดการตนเองโดยระบุเป้าหมาย วางแผน บริหารงาน กำกับตนเอง จัดการเวลาได้อย่างเหมาะสมให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ภายในเวลาที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม
2. การสื่อสาร โดยนำเสนอผลการทำกิจกรรม อภิปรายผล และสรุปผลการทำกิจกรรมที่ครอบคลุม สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรม ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจและภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายได้อย่างถูกต้อง
3. การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติกิจกรรม และลงมือปฏิบัติ รวมทั้งประเมินและปรับปรุงกระบวนการทำงาน
4. การคิดขั้นสูง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยสรุปผลการทำกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการแยกสารด้วยวิธีการการกลั่นอย่างง่าย
5. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายการแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
6. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งนักเรียนวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอย่างง่าย
เครื่องมือ
- ใบกิจกรรมที่ 2 แยกสารโดยการกลั่นอย่างง่ายได้อย่างไร
- ใบงานที่ 3 แยกสารโดยการกลั่นอย่างง่ายได้อย่างไร