สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร การเตรียมสารละลายต้องคำนึงถึงความเหมาะสมระหว่างตัวละลายและตัวทำละลาย น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี สารหลายชนิดละลายได้ดีในน้ำ น้ำจึงใช้เป็นตัวทำละลาย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.1 ม.2/4

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          1. อธิบายผลของชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายต่อสภาพละลายได้ของสาร

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          1.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้และบันทึกสิ่งที่สังเกตได้

2. ใช้ช้อนตักสารวัดปริมาณเกลือ และใช้กระบอกตวงวัดปริมาตรน้ำ

3. นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลายที่มีต่อสภาพละลายได้มาจัดกระทำและนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล

4. นำข้อมูลจากการสังเกตชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้มาอธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร

5. ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาวิเคราะห์และลงข้อสรุปเกี่ยวกับผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร

6. ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรที่ต้องการศึกษา และควบคุมตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องในการทดลองเรื่องผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          1. อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการตรวจ สอบข้อมูลตามที่สงสัย

2. บันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา

3. มุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

4. แปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูล

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การจัดการตนเอง ระบุเป้าหมายการทำงาน ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่มทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลาให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จตามกำหนด รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม

2. การสื่อสาร นำเสนอผลการทำกิจกรรม อภิปรายผล และสรุปผลการทำกิจกรรมที่ครอบคลุม สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรม ด้วยรูปแบบและภาษาที่เหมาะสมเข้าใจง่าย ใช้คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการ อธิบายได้อย่างถูกต้อง

3. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน รวมทั้งยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม 

4. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร 

5. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ออกแบบวิธีการตรวจสอบสภาพการละลายได้ของตัวละลายในตัวทำละลาย รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตและบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น
ตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรที่มีผลต่อการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ด้านความรู้ 

1.การตอบคำถามในใบงาน การออกแบบการทดลอง และการนำเสนอผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับผลของชนิดของตัวทำละลายและตัวละลายต่อสภาพละลายได้ของสาร

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          โดยประเมินจาก

          1. การสังเกต จากข้อมูลการบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้

2. การวัด โดยใช้ช้อนตวงวัดปริมาณเกลือ และใช้กระบอกตวงวัดปริมาตรน้ำ และระบุหน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลจากการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้มานำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้เข้าใจความหมายของข้อมูลได้ชัดเจน

4. การลงความเห็นจากข้อมูล จากการนำข้อมูลจากการสังเกตชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้มาอธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสารได้อย่างสมเหตุสมผล

5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาลงข้อสรุปเกี่ยวกับผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร

6. การกำหนดและควบคุมตัวแปร จากการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองเรื่องผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้ของสารได้ถูกต้อง

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          โดยประมินจาก

1. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

2. ความซื่อสัตย์ จากการสังเกตการบันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมได้

3. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

4. วัตถุวิสัย จากการจากการตอบคำถามในใบงาน แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความ เชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูลด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

เครื่องมือ

- ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ผลของตัวละลายและตัว ทำละลายที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง ปริมาณสารที่ละลายได้มากที่สุดในน้ำ (5) 10 มิ.ย. 67 (มีใบงาน ใบกิจกรรม และใบความรู้)