สารละลายอิ่มตัวเป็นสารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายได้อีกที่อุณหภูมิหนึ่ง ๆ ปริมาณตัวละลายที่มากที่สุดที่สามารถละลายได้ในตัวทำละลายจำนวนหนึ่งเรียกว่า
สะภาพละลายได้ของสารในน้ำมีหน่วยเป็นกรัมของสารต่อน้ำ 100 กรัม หรืออาจมีหน่วยเป็นกรัมต่อลิตรของตัวละลาย ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ ความดัน
เป็นปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/4
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. อธิบายความหมายของสภาพละลายได้ของสาร
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเติมเกลือลงในน้ำที่มีปริมาณคงที่ ณ อุณหภูมิหนึ่ง ๆ
2. ใช้ช้อนตักสารวัดปริมาณเกลือและใช้กระบอกตวงวัดปริมาตรน้ำ
3. นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อเติมเกลือลงในน้ำที่มีปริมาณคงที่ ณ อุณหภูมิ หนึ่ง ๆ มาจัดกระทำและนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการตรวจ สอบข้อมูลตามที่สงสัย
2. บันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา
3. มุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป
4. แปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูล
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การจัดการตนเอง ระบุเป้าหมายการทำงาน ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่มทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลาให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จตามกำหนด รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม
2. การสื่อสาร นำเสนอผลการทำกิจกรรม อภิปรายผล และสรุปผลการทำกิจกรรมที่ครอบคลุม สอดคล้องกับผลการทำกิจกรรม ด้วยรูปแบบและภาษาที่เหมาะสมเข้าใจง่าย ใช้คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการ อธิบายได้อย่างถูกต้อง
3. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน รวมทั้งยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม
วิธีการ
ด้านความรู้
1. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับสภาพละลายได้ของสาร
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต จากข้อมูลการบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเติมเกลือลงในน้ำที่มีปริมาณคงที่ ณ อุณหภูมิหนึ่ง ๆ
2. การวัด โดยใช้ช้อนตวงวัดปริมาณเกลือ และใช้กระบอกตวงวัดปริมาตรน้ำ และระบุหน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลจากการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อเติมเกลือลงในน้ำที่มีปริมาณคงที่ ณ อุณหภูมิหนึ่ง ๆ มานำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้เข้าใจความหมายของข้อมูลได้ชัดเจน
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
2. ความซื่อสัตย์ จากการสังเกตการบันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมได้
3. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป
4. วัตถุวิสัย จากการจากการตอบคำถามในใบงาน แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความ เชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูล
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
1. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม การทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างมีวินัยจนบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม
2. การสื่อสาร โดยนำเสนอผลการทำกิจกรรม อภิปรายผล และสรุปผลการทำกิจกรรมที่ครอบคลุมสอดคล้องกับผลการทำกิจกรรม ด้วยรูปแบบและภาษาที่เหมาะสมเข้าใจง่าย ใช้คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายได้อย่างถูกต้อง
3. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน โดยทำความเข้าใจเป้าหมายของการทำงาน ระบุภาระงาน วางแผนการทำงานผ่านการระดมความคิดแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบภายในกลุ่มและทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายตลอดจนมีส่วนร่วมในการสะท้อนการทำงาน ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานและการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม
เครื่องมือ
- ใบกิจกรรมที่ 1 ละลายได้เท่าใด
- ใบงานที่ 1 ละลายได้เท่าใด