โครมาโทกราฟีเป็นวิธรการแยกสารผสมที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายและการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับแตกต่างกัน
ทำให้สารแต่ละชนิดเคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้ต่างกันทำให้แยกองคือประกอบของสารได้
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/2
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการใช้ตัวทำละลายแยกสารที่มีสีโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ
2. อธิบายวิธีแยกสารโดยวิธีโครมาโท กราฟีแบบกระดาษ
วิธีการ
ด้านความรู้
1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการใช้ตัวทำละลายแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษอย่างถูกต้อง
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต จากข้อมูลการบันทึกผลการแยกสารที่มีสีโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของจุดของหมึก ระยะทางที่หมึกเคลื่อนที่ และจำนวนสีที่แยกได้บนกระดาษโครมาโทกราฟีและบันทึกสิ่งที่สังเกตได้
2. การวัด จากการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมวัดระยะทางที่หมึกเคลื่อนที่ไปบนกระดาษโครมาโทกราฟี และใช้หน่วยการวัดที่เหมาะสม
3. การลงความเห็นจากข้อมูล จากการอธิบายเกี่ยวกับการแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของจุดของหมึกและระยะทางที่หมึกเคลื่อนที่บนกระดาษโครมาโทกราฟี
4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการนำข้อมูลจากการแยกสารที่มีสีโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ มาใช้ในการแปลความหมายข้อมูลเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับหลักการแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
2. ความซื่อสัตย์ จากการสังเกตการบันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมได้
3. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป
4. วัตถุวิสัย จากการตอบคำถามในใบงาน แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับผลการทำกิจกรรมอย่างเที่ยงตรง โดยไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือความรู้ที่มีอยู่มามีอิทธิพลเหนือการแปลความหมายข้อมูล
เครื่องมือ
- ใบกิจกรรมที่ 2 แยกสารจากหมึกได้อย่างไร
- ใบงานที่ 3 แยกสารจากหมึกได้อย่างไร