แผนภาพต้น–ใบ เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่มีการเรียงลำดับข้อมูล ทำได้โดยแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นส่วนลำต้นและส่วนใบ โดยส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนลำต้น
ด้านความรู้
นักเรียนสามารถอ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นำเสนอด้วยแผนภาพต้น–ใบ
ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถ
1. เชื่อมโยงความรู้เรื่องแผนภาพต้น–ใบมาใช้ในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริง
2. ให้เหตุผลประกอบการแปลความหมายของข้อมูลที่นำเสนอด้วยแผนภาพต้น–ใบเพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้น
วิธีการ
1. ตรวจกิจกรรม 4 : ดูต้นแลใบได้ข้อมูล
2. ตรวจแบบฝึกหัด 4:การอ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นำเสนอด้วยแผนภาพต้น–ใบ
3. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
4. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือ
1. กิจกรรม 4 : ดูต้นแลใบได้ข้อมูล
2. แบบฝึกหัด 4 : การอ่านและแปลความหมายของข้อมูลที่นำเสนอด้วยแผนภาพต้น–ใบ
3. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
4. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์