สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 คำสมาสแบบสนธิ คือ การนำคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาสมาสกัน โดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง เวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน ซึ่งมีทั้งหมด ๓ ชนิด ได้แก่ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนฤคหิตสนธิ เมื่อนักเรียนเรียนรู้แล้วจะทำให้สามารถสร้างคำได้หลากหลายวิธี และเลือกสรรคำไปใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. อธิบายหลักการสร้างคำสมาสแบบสนธิได้
  2. บอกชนิดของคำสมาสแบบสนธิได้

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. สร้างคำสมาสแบบสนธิได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ ๘ เรื่อง การสร้างคำสมาสแบบสนธิ

 เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สังเกตสื่อบันทึกสาร
ชั่วโมง สังเกตสื่อบันทึกสาร
เรื่อง ฉลาดใช้คำ (2) 20 ก.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)