สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การโน้มน้าว มีกลวิธีหลายวิธี ที่สามารถเชิญชวนหรือโน้วน้าวให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ซึ่งผู้โน้มน้าวสามารถแสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือ มีเหตุและผลที่หนักแน่น

ทำให้เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมด้วย อาจจะเสนอเนื้อหาทั้งด้านดีและด้านเสีย หรือสอดแทรกเรื่องราวตลกขบขัน เพื่อให้เกิดความผ่อนคล้าย และใช้น้ำเสียงให้เหมาะสม สอดคล้องกับอารมณ์

ความรู้สึกที่มีต่อเรื่องที่โน้มน้าว เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้แล้ว จะทำให้สามารถใช้กลวิธีโน้มน้าวใจได้ถูกต้องและเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. วิเคราะห์จุดประสงค์ของการโน้มน้าวใจได้

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. พูดโน้มน้าวใจผ่านการประชาสัมพันธ์ได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ซื่อสัตย์สุจริต

2. ใฝ่เรียนรู้                                                    

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

- คุณลักษณะเฉพาะ

1. มีวิจารณญาณในการรับสาร

2. มีคุณธรรมในการโน้มน้าวใจ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจการพูดโน้มน้าวใจจากป้ายประชาสัมพันธ์

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง มุ่งมั่นโน้มน้าวใจ (2) 30 ส.ค. 67 (มีบัตรคำ)