สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การโน้มน้าว เป็นการจูงใจหรือเชิญชวนให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม หรือเกิดกำลังใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นกลวิธีในการสื่อสารเพื่อเร้าอารมณ์

และชักจูงให้ผู้รับสารเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ทัศนคติความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมตามที่โน้มน้าว ทั้งนี้ผู้โน้มน้าวจะต้องใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่ใช้การข่มขู่บีบบังคับหรือคุกคาม

ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่ต้องการโน้มน้าวใจ เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วจะทำให้สามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          1. อธิบายกลวิธีการพูดโน้มน้าวใจแต่ละประเภทได้

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. วางแผนการพูดโน้มน้าวใจผ่านการประชาสัมพันธ์ได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ซื่อสัตย์สุจริต

2. ใฝ่เรียนรู้                                                    

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

- คุณลักษณะเฉพาะ

1. มีวิจารณญาณในการรับสาร

             2. มีคุณธรรมในการโน้มน้าวใจ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจการโน้มน้าวใจในรูปแบบป้ายประชาสัมพันธ์

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง มุ่งมั่นโน้มน้าวใจ (1) 29 ส.ค. 67 (มีใบความรู้)