สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีที่มาจากนิทานอีสป  ซึ่งนักเล่านิทานชาวกรีกยกนิทานมาเล่าเพื่อเปรียบเปรยหรือเตือนสติให้นายคิด

หรือแก้ไขเหตุการณ์ที่เลวร้ายได้ นิทานอีสปเป็นนิทานที่คนไทยรู้จักมาช้านาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้      ทรงพระราชนิพนธ์แปลนิทานอีสปไว้  ๒๔  เรื่อง และทรงพระราชนิพนธ์

โคลงสุภาษิตร่วมกับกวีท่านอื่น โคลงสุภาษิตดังกล่าวเรียกว่า โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ นิทานแต่ละเรื่องให้ข้อคิดเกี่ยวกับแนวทางการดำรงตนที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

             1. บอกที่มา  และความหมายของคำศัพท์จากโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ

2. วิเคราะห์เนื้อหาของโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำและนำข้อคิดไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. ถอดคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่องโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าวรรณคดี และลักษณะคำประพันธ์ไทย

2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ 11 เรื่อง นิทานจากโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ 21 ส.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)