สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์เดิมเป็นสุภาษิตอังกฤษ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กวีในราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย โคลงสุภาษิตโสฬส        

ไตรยางค์จำแนกเนื้อความเป็น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวมเป็น ๔๘  ข้อ อธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำ

ให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและเพิ่มความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. บอกที่มาของวรรณคดีเรื่องโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ได้
  2. บอกความหมายของคำศัพท์โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
  3. วิเคราะห์เนื้อหาของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์กับการนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

ด้านทักษะกระบวนการ

1.   ถอดคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่องโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ได้

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าวรรณคดี และลักษณะคำประพันธ์ไทย

2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ ๗ เรื่อง อ่านโคลง... ถอดความ

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ (1) 9 ส.ค. 67 (มีใบงาน ใบความรู้)