สร้างมุมที่มีขนาด 90°, 60°, 45°, 30° และ 15°
7.1 ตัวชี้วัด
ค 2.2 ม.1/1 ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือ โปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
นักเรียนสามารถสร้างมุมที่มีขนาด 90°, 60°, 45°, 30° และ 15° โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐาน ทางเรขาคณิต
ด้านทักษะและกระบวนการ
นักเรียนสามารถ
1. สื่อสารและสื่อความหมายแนวคิด ในการอธิบายการสร้างมุมขนาดต่าง ๆ โดยใช้ความรู้เรื่องการสร้างพื้นฐาน ทางเรขาคณิต
2. คิดสร้างสรรค์ ในการหาวิธีการที่หลาก หลายในการสร้างมุมขนาดต่าง ๆ โดยใช้ความรู้เรื่องการสร้างพื้นฐาน ทางเรขาคณิต
8.1 วิธีการ
8.1.1 ตรวจสอบใบกิจกรรม 11: มุมเล็กมุมน้อย
8.1.2 ตรวจสอบแบบฝึกหัด 2: การสร้างมุมที่มีขนาด 75°
8.1.3 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
8.2 เครื่องมือ
8.2.1 ใบกิจกรรม 11: มุมเล็กมุมน้อย
8.2.2 แบบฝึกหัด 2: การสร้างมุมที่มีขนาด 75°
8.2.3 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์