สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เมื่อ a เป็นเศษส่วนใด ๆ

  • จำนวนตรงข้ามของ a มีเพียงจำนวนเดียวเขียนแทนด้วย -a  และ  a + (-a)  =  0  =  (-a) + a
  • จำนวนตรงข้ามของ -a  คือ a  นั่นคือ  -(-a) = a
  • การลบเศษส่วน ใช้ข้อตกลงดังนี้  ตัวตั้ง – ตัวลบ  =  ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ
  • a – b  =  a + (-b) เมื่อ a และ b แทนเศษส่วนใด ๆ
  • เศษส่วนไม่มีสมบัติการสลับที่สำหรับการลบ และไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการลบ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม.1/1  เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ  และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้     

นักเรียนสามารถ

1. ผลลบของเศษส่วนที่กำหนด

2. เขียน หรืออธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่กำหนดให้ โดยใช้ความรู้เรื่องการลบเศษส่วน

ด้านทักษะและกระบวนการ       

นักเรียนสามารถ

1. สื่อสารและสื่อความหมายในการอธิบาย การหาผลลัพธ์การบวกและการลบเศษส่วน

2. เชื่อมโยงความรู้เรื่องการบวกเศษส่วนที่เป็นจำนวนบวก และหลักการบวกจำนวนเต็ม ไปใช้ในการทำความเข้าใจหลักการบวกเศษส่วน

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจแบบฝึกหัด 5 : การลบเศษส่วน

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 5 : การลบเศษส่วน

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แต่ละส่วน ควรเป็นอย่างไร
ชั่วโมง แต่ละส่วน ควรเป็นอย่างไร
เรื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ คิดง่ายจัง (3) 17 ก.ค. 67 (มีแบบฝึกหัด)