การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกให้ทำตัวหารเป็นจำนวนนับ เช่น
- กรณีที่ตัวหารเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งให้คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย 10
- กรณีที่ตัวหารเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งให้คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย 100
- กรณีที่ตัวหารเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง ให้คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย 1,000
ดังนั้น การทำให้ตัวหารเป็นจำนวนนับโดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ... คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารตามความจำเป็น
การหารทศนิยมด้วยทศนิยมที่เป็นการหารลงตัว อาศัยการคูณตามข้อตกลง ดังนี้
ตัวหาร × ผลหาร = ตัวตั้ง
การหาผลหารของทศนิยม จึงสามารถหาได้โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ดังนี้
- ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกทั้งคู่ ให้ทำตัวหารเป็นจำนวนนับแล้วหาคำตอบซึ่ง
จะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก
- ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบทั้งคู่ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งและค่าสัมบูรณ์ของ
ตัวหารมาหารกันแล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก
- ถ้าตัวตั้งหรือตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบโดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวน
บวก ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งและค่าสมบูรณ์ของตัวหารมาหารกัน แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็น จำนวนลบ
7.1 ตัวชี้วัด
ม 1/1 เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
นักเรียนสามารถ
1. หาผลหารของทศนิยมที่กำหนด
2. เขียนหรืออธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่กำหนดให้ โดยใช้ความรู้เรื่องการหารทศนิยม
ด้านทักษะและกระบวนการ
นักเรียนสามารถ
1. แก้ปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการหารทศนิยม
2. สื่อสารและสื่อความหมายในการ อธิบายการหาผลลัพธ์การหารทศนิยม
8.1 วิธีการ
8.1.1 ตรวจสอบแบบฝึกหัด 5: การหารทศนิยม
8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
8.2 เครื่องมือ
8.2.1 แบบฝึกหัด 5: การหารทศนิยม
8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์