สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

หลักการคูณทศนิยม มีดังนี้

1. การคูณทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก ใช้วิธีเดียวกับการคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ซึ่งจะได้ผลคูณเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

2. การคูณทศนิยมที่เป็นจำนวนลบด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ จะได้ผลคูณเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกและมีค่าเท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

3. การคูณระหว่างทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ จะได้ผลคูณเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบและมีค่าสัมบูรณ์ของผลคูณเท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม 1/1  เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ  และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถ

1. หาผลคูณของทศนิยมที่กำหนด

2. เขียนหรืออธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่กำหนดให้ โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณทศนิยม

ด้านทักษะและกระบวนการ

นักเรียนสามารถ

1. แก้ปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการคูณทศนิยม

2. สื่อสารและสื่อความหมายในการ อธิบายการหาผลลัพธ์การคูณทศนิยม

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจสอบแบบฝึกหัด 4: การคูณทศนิยม

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 4: การคูณทศนิยม

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ปัญหาของจุด หยุดคิด แก้ได้
ชั่วโมง ปัญหาของจุด หยุดคิด แก้ได้
เรื่อง คิดได้ ไม่ยากเลย (1) 2 ก.ค. 67 (มีแบบฝึกหัด)