สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. จำนวนที่อยู่ในรูปทศนิยมประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นจำนวนเต็มและส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยม โดยมีจุดทศนิยมคั่นระหว่างสองส่วนนั้น ทศนิยมมีได้ทั้งทศนิยมที่เป็น จำนวนบวก ทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ และศูนย์

2. ค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมใด ๆ หาได้จาก ระยะที่ทศนิยมนั้น อยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน

3. การเปรียบเทียบทศนิยมสองจำนวน ใด ๆ อาศัยหลักการดังนี้

การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็น จำนวนบวกสองจำนวนใด ๆ ให้เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็มก่อน

  • ถ้าส่วนที่เป็นจำนวนเต็มไม่เท่ากันสรุปได้ว่าทศนิยมที่มีส่วนที่เป็นจำนวนเต็มมากกว่าจะเป็นทศนิยมที่มากกว่า
  • ถ้าส่วนที่เป็นจำนวนเต็มเท่ากัน ให้เปรียบเทียบส่วนที่อยู่หลังจุดทศนิยมเริ่มตั้งแต่ทศนิยมตำแหน่งที่ หนึ่งเป็นต้นไป โดยพิจารณาเลขโดดคู่แรก ในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากันทศนิยมที่มีเลขโดดใน       ตำแหน่งนั้นมากกว่าจะเป็นทศนิ ยมที่มากกว่า

การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็น จำนวนลบสองจำนวนใด ๆ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมทั้งสอง มาเปรียบเทียบกัน โดยทศนิยมที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่าจะเป็น ทศนิยมที่มากกว่า

การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็น จำนวนบวกและทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ ทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกย่อมมากกว่าทศนิยม ที่เป็นจำนวนลบเสมอ

    การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็น จำนวนบวกสองจำนวนใด ๆ ให้เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็มก่อน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม 1/1  เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ  และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถเปรียบเทียบทศนิยม

ด้านทักษะและกระบวนการ

นักเรียนสามารถสื่อสารและสื่อความหมายในการเปรียบเทียบทศนิยม โดยใช้เส้นจำนวนหรือค่าสัมบูรณ์

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจสอบแบบฝึกหัด 1 รู้จักทศนิยม

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 1 รู้จักทศนิยม

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ปัญหาของจุด หยุดคิด แก้ได้
ชั่วโมง ปัญหาของจุด หยุดคิด แก้ได้
เรื่อง ใครมากกว่า 24 มิ.ย. 67 (มีแบบฝึกหัด)