สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  สมบัติทางกายภาพของธาตุใช้จัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้         

อธิบายและเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

1. การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตความมันวาว การนำไฟฟ้า การนำความร้อน และความเหนียวของธาตุ         

2. การจำแนกประเภท จัดกลุ่มธาตุโดยใช้สมบัติทางกายภาพเป็นเกณฑ์         

3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายของผลการสังเกต เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติการนำไฟฟ้า การนำความร้อน และความเหนียวของธาตุ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. การใช้วิจารณญาณโดยการวิเคราะห์เหตุผลแต่ละข้อมูลก่อนการตัดสินใจโดยใช้สมบัติทางกายภาพของธาตุเป็นเกณฑ์         

2. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง         

3. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนในการอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของธาตุและใช้สมบัติทางกายภาพจำแนกธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ     

2. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของธาตุและใช้สมบัติทางกายภาพจำแนกธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ 

ด้านความรู้         

การตอบคำถามขณะอภิปรายและในใบงานเพื่ออธิบายและเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

1. การสังเกต จากการสังเกตความมันวาว การนำไฟฟ้า การนำความร้อน และความเหนียวของธาตุตัวอย่างที่ทดสอบและบันทึกสิ่งที่สังเกตได้อย่างครบถ้วนและไม่มีการลงความเห็น         

2. การจำแนกประเภทจากการตรวจสอบการระบุเกณฑ์การจัดกลุ่มธาตุ         

3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการนำข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมมาลงข้อสรุปว่า ธาตุที่ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าแล้วทำให้หลอดไฟฟ้าสว่างแสดงว่าธาตุนั้นนำไฟฟ้า แต่ถ้าหลอดไฟฟ้าไม่สว่างแสดงว่าธาตุนั้นไม่นำไฟฟ้า ธาตุที่นำมาทดสอบโดยติดดินน้ำมันก้อนเล็ก ๆ ที่ปลายธาตุแต่ละธาตุแล้วจุ่มปลายอีกด้านหนึ่งลงในในน้ำร้อน หากดินน้ำมันที่ติดปลายธาตุตัวอย่างเยิ้มแสดงว่าธาตุนั้นนำความร้อน แต่ถ้าดินน้ำมันที่ติดปลายธาตุตัวอย่างไม่เยิ้มแสดงว่าธาตุนั้นไม่นำความร้อน และธาตุที่ทดสอบโดยใช้ค้อนทุบแล้วธาตุไม่แตกออกจากกันแต่ยืดออกจากกันเป็นแผ่นบางลง แสดงว่าธาตุนั้นเหนียว แต่ถ้าทุบแล้วธาตุนั้นแตกหักแสดงว่าธาตุนั้นไม่เหนียวแต่เปราะ 

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. การใช้วิจารณญาณจากการสังเกตขณะอภิปรายการวิเคราะห์เหตุผลก่อนประเมินการตัดสินใจ เพื่อจำแนกสารโดยใช้สมบัติทางกายภาพของธาตุเป็นเกณฑ์         

2. วัตถุวิสัย จากการตอบคำถามที่สะท้อนถึงการแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง          

3. ความมุ่งมั่นอดทนจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน          

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเองและทีมในการร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของธาตุ และใช้สมบัติทางกายภาพจำแนกธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ         

2. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบคำถามในใบงานจากการวิเคราะห์ผลการทำกิจกรรม แปลความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของธาตุและใช้สมบัติทางกายภาพจำแนกธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ

8.2 เครื่องมือ         

1. ใบกิจกรรมที่ 1 จำแนกธาตุได้อย่างไร         

2. ใบงานที่ 1 จำแนกธาตุได้อย่างไร         

3. บัตรภาพชื่อธาตุต่าง ๆ

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สารบริสุทธิ์
ชั่วโมง สารบริสุทธิ์
เรื่อง การจำแนกธาตุ (1) 25 ก.ย. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)