สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  อะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังแสดงสมบัติของธาตุนั้น อะตอมประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ด้านความรู้         

1. วิเคราะห์และอธิบายโครงสร้างอะตอมจากแบบจำลอง         

2. สร้างแบบจำลองอะตอม 

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

1. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองมาลงข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม         

2. การสร้างแบบจำลอง โดยสร้างและใช้แบบจำลองเพื่อนำเสนอและอธิบายโครงสร้างอะตอม 

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. การยอมรับความเห็นต่างที่มีประจักษ์พยานและเหตุผลที่แตกต่างจากตนเอง         

2. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย         

3. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนในการอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมและสร้างแบบจำลองอะตอม         

2. การคิดขั้นสูง มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการประเมินความน่าเชื่อถือของแบบจำลองอะตอมที่สร้างขึ้น         

3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ          

ด้านความรู้         

การตอบคำถามขณะอภิปรายและในใบงาน เพื่ออธิบายวิธีเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมและแบบจำลองอะตอม         

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

1. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการนำข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองมาลงข้อสรุปว่า อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนซึ่งรวมกันเป็นนิวเคลียส ส่วนอิเล็กตรอนอยู่ในที่ว่างรอบนิวเคลียส         

2. การสร้างแบบจำลองจาการสร้างและใช้แบบจำลอง เพื่อนำเสนอและอธิบายุโครงสร้างอะตอม         

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. การยอมรับความเห็นต่างจากการยอมรับประจักษ์พยานและเหตุผลที่แตกต่างจากตนเอง ในการอภิปรายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของโครงสร้างอะตอม          

2. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย          

3. ความมุ่งมั่นอดทนจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป         

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน           

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของนักเรียนและทีมในการร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมและสร้างแบบจำลองอะตอม         

2. การคิดขั้นสูง จากการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยสังเกตการอภิปรายแสดงข้อโต้แย้งอย่างมีเหตุผลในการประเมินความน่าเชื่อถือของแบบจำลองอะตอมที่สร้างขึ้นของกลุ่มตนเองและกลุ่มอื่น ๆ         

3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งวิเคราะห์จากการทำกิจกรรมแปลความหมายข้อมูล และลงข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม

8.2 เครื่องมือ         

1. ใบกิจกรรมที่ 1 โครงสร้างอะตอมเป็นอย่างไร         

2. ใบงานที่ 1 โครงสร้างอะตอมเป็นอย่างไร         

3. ใบความรู้ที่ 1 โครงสร้างอะตอม

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สารบริสุทธิ์
ชั่วโมง สารบริสุทธิ์
เรื่อง อะตอมและโครงสร้างอะตอม (1) 18 ก.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)