สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารที่พบในชีวิตประจำวัน สามารถทำได้โดยการหาจุดเดือด จุดหลอมเหลว หรือความหนาแน่นของสาร

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้         

อธิบายวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารโดยนําความรู้ เรื่อง จุดเดือดจุดหลอมเหลว และความหนาแน่นของสารมาใช้ประโยชน

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล โดยนําข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารมาจัดกระทำและนําเสนอ         

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. การยอมรับความเห็นต่างที่มีประจักษ์พยานและเหตุการณ์แตกต่างจากตนเอง         

2. ความใจกว้าง คิดพิจารณาผลอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ประเมินแนวคิดต่าง ๆ ที่ผู้อื่นเสนอหรือแนะนํา         

3. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย         

4. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ         

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

1. การสื่อสาร นําเสนอวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน         

2. การคิดขั้นสูง โดยคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร         

3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารบริสุทธิ์และสารผสม สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์และสารผสมอื่น ๆ โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลที่เป็นไปได้

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ         

ด้านความรู้         

การนำเสนอ การตอบคำถามขณะอภิปราย และการตอบคำถามในใบงาน เพื่ออธิบายวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารโดยนำความรู้เรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลวและความหนาแน่นของสารมาใช้ประโยชน์         

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล จากการนำเสนอผลการออกแบบ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการออกแบบเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารมาจัดกระทำและนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ         

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. การยอมรับความเห็นต่าง จากการสังเกตการอภิปรายในห้องเรียนและในกลุ่มว่ามีการยอมรับความเห็นที่มีประจักษ์พยานและเหตุการณ์แตกต่างจากตนเอง ในการอภิปรายเกี่ยวกับการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร         

2. ความใจกว้าง จากการสังเกตการอภิปรายในห้องเรียนและในกลุ่มว่ายินดีรับฟังและประเมินแนวคิดต่าง ๆ ที่ผู้อื่นเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร         

3. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตผู้เรียนพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย         

4. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ         

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

1. การสื่อสาร จากการนําเสนอวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน โดยใช้เทคนิค สื่อและเทคโนโลยีช่วยในการสื่อสาร         

2. การคิดขั้นสูง จากการตอบคำถามในใบงาน ในการตัดสินใจเลือกวิธีการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร         

3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงานซึ่งนักเรียนได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของสารบริสุทธิ์และสารผสมสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์และสารผสมอื่น ๆ โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลที่เป็นไปได้

8.2 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารในชีวิตประจำวันทำอย่างไร

2. ใบงานที่ 1 การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารในชีวิตประจำวันทำอย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
ชั่วโมง สารในชีวิตประจำวัน
เรื่อง การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารในชีวิตประจำวัน 11 ก.ย. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)