สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดมีความหนาแน่นหรือมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรคงที่ ซึ่งเป็นค่าเฉพาะของสารนั้น ณ สถานะและอุณหภูมิหนึ่งสารผสมมีความหนาแน่นไม่คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดและอัตราส่วนผสมของสารที่ผสมอยู่ด้วยกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ด้านความรู้         

1. อธิบายและคํานวณความหนาแน่นของสาร         

2. เปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม          

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

1. การวัดโดยใช้เครื่องมือวัดมวลและปริมาตรของก้อนเหล็กและสารละลายโซเดียมคลอไรด์ พร้อมทั้งระบุหน่วยที่ใช้         

2. การใช้จำนวน โดยคํานวณความหนาแน่นของก้อนเหล็กและสารละลายโซเดียมคลอไรด์         

3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลเกี่ยวกับความหนาแน่นของก้อนเหล็กและ สารละลายโซเดียมคลอไรด์เพื่อนําไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม          

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย         

2. ความมุ่งมั่น อดทน ตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ         

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นของสารมาอธิบายปรากฏการณ์โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลที่เป็นไปได้

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ          

ด้านความรู้         

การตอบคําถามขณะอภิปรายและการตอบคำถามในใบงาน เพื่ออธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

1. การวัด จากการสังเกตการใช้เครื่องมือวัดมวลและปริมาตรก้อนเหล็กและสารละลายโซเดียมคลอไรด์พร้อม ทั้งระบุหน่วยที่ถูกต้อง          

2. การใช้จำนวนจากการตอบคําถามในใบงานที่แสดงการคํานวณความหนาแน่นของสาร         

3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปจากการอภิปรายและการตอบคําถามในใบงาน โดยนําข้อมูลที่ได้จาก การคํานวณความหนาแน่นของก้อนเหล็กและสารละลายโซเดียมคลอไรด์มาลงข้อสรุปว่า สารบริสุทธิ์มีความหนาแน่นคงที่สารผสมมีความหนาแน่นไม่คงที่         

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย         

2. ความมุ่งมั่นอดทนจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ         

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคําถามในชั้นเรียน ซึ่งนักเรียนได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นของสารมาอธิบายความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม    

8.2 เครื่องมือ         

1. ใบกิจกรรมที่ 1 ความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร         

2. ใบงานที่ 1 ความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
ชั่วโมง สารในชีวิตประจำวัน
เรื่อง ความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม (2) 5 ก.ย. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)