สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สารบริสุทธิ์มีจุดเดือดคงที่ ส่วนสารผสมมีจุดเดือดไม่คงที่ เนื่องจากสารผสมมีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด เมื่อสารผสมได้รับความร้อน อัตราส่วนผสมหรือความเข้มข้นของสารจะเปลี่ยนไปเพราะสารแต่ละชนิดระเหยได้แตกต่างกัน จุดเดือดของสารผสมจึงไม่คงที่

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสสังเกตการเปลี่ยนแปลงสมบัติและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์เมื่อได้รับความร้อน

2. การวัด โดยใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์พร้อมทั้งระบุหน่วยที่ใช้

3. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล โดยนำข้อมูลอุณหภูมิของน้ำกลั่นกับเวลาและอุณหภูมิของสารละลายโซเดียมคลอไรด์กับเวลาที่ได้จากกิจกรรมมาจัดกระทำและนำเสนอ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย

2. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนร่วมกัน เพื่อหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต จากการสังเกตการ เปลี่ยนแปลงของน้ำและสารละลาย โซเดียมคลอไรด์เมื่อได้รับความร้อน และบันทึกสิ่งที่สังเกตในใบงานได้อย่าง ครบถ้วนและไม่มีการลงความคิดเห็น

2. การวัด จากการจัดเทอร์มอมิเตอร์ใน ระหว่างการทำกิจกรรม และการ บันทึกอุณหภูมิของน้ำกลั่นและ สารละลายโซเดียมคลอไรด์ในใบงานที่ระบุหน่วยได้อย่างถูกต้อง

3. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล จากการบันทึกผลในใบงาน โดยนำข้อมูลที่ได้เกี่ยวกับอุณหภูมิของน้ำกลั่นกับเวลา และสารละลาย โซเดียมคลอไรด์กับเวลามาจัดกระทำ และนำเสนอในรูปแบบของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของสารกับเวลา

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัย

2. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบการทำกิจกรรมให้สำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเองและทีมในการร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม   

8.2 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร

2. ใบงานที่ 1 จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
ชั่วโมง สารในชีวิตประจำวัน
เรื่อง จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม (1) 28 ส.ค. 67 (มีใบงาน)