สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์จะส่งผลให้รูปร่างของเซลล์มีการเปลี่ยนแปลง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          - อธิบายออสโมซิสของเซลล์ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ
 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          - การสังเกต สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองเซลล์ที่แช่ในสารละลายต่าง ๆ
          - การวัด ชั่งมวลของแบบจำลองเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงและระบุหน่วย
 จิตวิทยาศาสตร์
          - ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน สนับสนุนหรือโต้แย้งด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ แบบจำลองเซลล์ในเครื่องดื่มที่นักเรียนแต่ละกลุ่มสนใจ
          - การอยากรู้อยากเห็น ทดลองเกี่ยวกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองเซลล์

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

          1. การตอบคำถามในใบงานและการอภิปรายเกี่ยวกับออสโมซิสของเซลล์ในสารละลายความเข้มข้นต่าง ๆ
          2. การบันทึกผลการสังเกต การเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองเซลล์ในสารละลายต่าง ๆ ตามความเป็นจริง
          3. การสังเกตพฤติกรรม ในการเลือกและใช้เครื่องมือชั่งมวลของแบบจำลองเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปและการ บันทึกผลเพื่อระบุค่าและหน่วยได้อย่างเหมาะสม
          4. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามและการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองเซลล์ในเครื่องดื่มที่นักเรียนแต่ละกลุ่มสนใจ
          5. การบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองเซลล์ในเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่นักเรียนสนใจ
8.2 เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 1 เซลล์เต่งและเหี่ยวได้อย่างไร
          2. ใบงานที่ 1 เซลล์เต่งและเหี่ยวได้อย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชั่วโมง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เรื่อง เซลล์เต่งและเซลล์เหี่ยว (1) 10 ก.ค. 67 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)