สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีรูปร่าง ลักษณะที่หลากหลายและมีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์นั้น เช่น เซลล์ประสาทส่วนใหญ่มีเส้นใยประสาทเป็นแขนงยาว นำกระแสประสาทไปยังเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ไกลออกไป เซลล์ขนรากเป็นเซลล์ผิวของรากที่มีผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์ยื่นยาวออกมา ลักษณะคล้ายขนเส้นเล็ก ๆ  เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดน้ำและธาตุอาหาร พืชและสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  มีการจัดระบบโดยเริ่มจากเซลล์ไปเป็นเนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะและสิ่งมีชีวิต ตามลำดับ เซลล์หลายเซลล์มารวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันและทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะ อวัยวะต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ ระบบอวัยวะทุกระบบทำงานร่วมกันเป็นสิ่งมีชีวิต

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างลักษณะของเซลล์กับการทำหน้าที่ของเซลล์
 - อธิบายการจัดระบบภายในสิ่งมีชีวิต โดยเริ่มจากเซลล์เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะที่ทำงานร่วมกันในการ ดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การลงความเห็นข้อมูล แสดงความคิดเห็นและเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาอธิบายการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
 ด้านจิตวิทยาศาสตร์
 - การใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต

ด้านสมรรถนะ

- การสื่อสาร นำเสนอหัวข้อย่อยของการจัดระบบของสิ่งมีชีวิตกับสมาชิกภายในกลุ่ม รวมทั้งอภิปรายและ นำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
- การรวมพลังทำงานเป็นทีม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อย และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

          1. การตอบคำถามในห้องเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างลักษณะและหน้าที่ของเซลล์ได้อย่างถูกต้อง
          2. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามและการนำเสนอ เกี่ยวกับการจัดระบบของสิ่งมีชีวิตได้อย่าง ถูกต้อง
          3. การสังเกตพฤติกรรมในการแสดงความคิดเห็นและเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาอธิบายการ จัดระบบของสิ่งมีชีวิตได้อย่างสมเหตุสมผล
          4. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามลงในใบงานเกี่ยวกับการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
          5. การสื่อสาร โดยสังเกตพฤติการนำเสนอหัวข้อย่อยของการจัดระบบของสิ่งมีชีวิตกับสมาชิกภายในกลุ่ม รวมทั้งการอภิปรายและการนำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดระบบของสิ่งมีชีวิตได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย
          6. การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยสังเกตพฤติกรรมในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อย รับฟังข้อมูลให้ข้อคิดเห็น ยอมรับความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
          7. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถาม และการนำเสนอโดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะและสิ่งมีชีวิต เพื่ออธิบายการจัดระบบของสิ่งมีชีวิตได้อย่าง สมเหตุสมผล

8.2 เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต   
          2. ใบงานที่ 1 การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชั่วโมง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เรื่อง รูปร่างและหน้าที่ของเซลล์ และการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต 26 มิ.ย. 67