สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดเล็กภาพจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงจะใหญ่กว่าวัตถุและเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายเป็นขวาเมื่อเลื่อนสไลด์ ภาพที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์จะเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายลักษณะของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

- การสังเกต สังเกตภาพตัวอักษรจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

- ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน สนับสนุนหรือโต้แย้งเกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของภาพและการเลื่อนสไลด์ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน           

- การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ อธิบายลักษณะของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงและภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนกำลังขยายขนาดต่าง ๆ

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

          1. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามและการนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงได้อย่างถูกต้อง
          2. การบันทึกผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับลักษณะภาพตัวอักษรจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงตามความเป็นจริง
          3. การบันทึกผลการทำกิจกรรม และการตอบคำถามเกี่ยวกับทิศทางการเกิดภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง และภาพที่เกิดจากการเลื่อนสไลด์ได้อย่างถูกต้อง
          4. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์โดยบันทึกผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับลักษณะของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงและภาพที่เกิดจากการ เปลี่ยนกำลังขยาย ขนาดต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้อง

8.2 เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 1 โลกใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นอย่างไร
          2. ใบงานที่ 1 โลกใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2567 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชั่วโมง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 13 มิ.ย. 67 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม )