สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขควรนำแนวคิดแบบลีนและ การสัมภาษณ์มาช่วยในการระบุปัญหาจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาในชุมชุนหรืองานที่สนใจจะแก้ไข เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่ามีสิ่งที่ทำให้พึงพอใจหรือมีปัญหาใด และต้องการสิ่งใด เพื่อขจัดปัญหาหรือทำให้เกิดความพึงพอใจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้
1. วิเคราะห์และระบุปัญหาที่เกี่ยวกับอาชีพในชุมชน จากการสำรวจ สังเกตและสัมภาษณ์โดยใช้แนวคิดแบบลีน

ด้านทักษะและกระบวนการ

1. กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (การระบุปัญหา) : ระบุปัญหาจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสังเกต สัมภาษณ์จากเครื่องมือที่สร้างไว้

2. การคิดเชิงระบบ : จำแนกองค์ประกอบของปัญหาและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปัญหา

3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ : วิเคราะห์และประเมิน สถานการณ์ด้วยหลักฐานที่หลากหลายแล้วลงข้อสรุป

4. การสื่อสาร : สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องขณะไปสำรวจ

5. การทำงานร่วมกับผู้อื่น : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระบุปัญหาและข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสังเกตและสัมภาษณ์   

 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. วัดความรู้จากการปฏิบัติและตอบคำถามในใบกิจกรรม
2. วัดทักษะจากการสังเกตระหว่างทำกิจกรรม
3. วัดคุณลักษณะจากการสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมทำกิจกรรม การถามตอบ อภิปรายกันกายใน กลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแสดงความคิดเห็น วิธีคิด เหตุผลการนำเสนอข้อมูล
4. วัดสมรรถนะ

เครื่องมือ

1. วัดความรู้จากการทำใบกิจกรรม

2. วัดทักษะและกระบวนการทางเทคโนโลยีจากการทำใบกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน

3. วัดคุณลักษณะจากสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน

4. วัดสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนจากสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน 

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ การออกแบบและเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ชั่วโมง ปัญหาคืออะไร
เรื่อง ปัญหาคืออะไร 8 ม.ค. 67 (มีใบงาน)